สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง...

 

1.บ้านอีต่อง

บ้านอีต่องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี บ้านเรือนของชาวอีต่องตั้งอยู่ตามไหล่เขา ที่นี่เคยเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่ดีบุกและแร่วูลแฟรมเรียกกันว่า "เหมืองปิล็อค" ตามชื่อตำบลแต่ตอนนี้รัฐบาลสั่งเลิกทำเหมืองไปแล้ว จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่เงียบสงบเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่นี่มีร้านค้าอาหารราคาไม่แพงชื่อ "ร้านเจ๊ณี" อีกทั้งยังมีอาหารทะเลจากทะเลอันดามันในฝั่งพม่ามาบริการนักท่องเที่ยวในราคาแสนถูกและอร่อยในบรรยากาศขุนเขาและไอหมอกด้วยครับ

 

2. เหมืองปิล็อค 

ตั้งอยู่ในตำบลปิล็อก ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิไปทางทิศตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3272 ที่นี่เคยมีการทำเหมืองแร่ดีบุก วุลเฟรม กันมากบนเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับ พม่ามีอากาศดีโดยเฉพาะฤดูหนาว สามารถชมทัศนียภาพทะเลอันดามันที่จุดชมวิวไทย-พม่าการเดินทาง ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจากเส้นทางส่วนใหญ่มีความสูงชันและคดเคี้ยว เมื่อผ่านอำเภอทองผาภูมิใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3272 ระยะทาง 56 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่แยกบ้านไร่อีก 26 กิโลเมตร ถึงอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

 

 3.เนินเสาธง

เนินเสาธง เป็นจุดที่ตั้งธงประเทศไทยและธงประเทศพม่าบนสันเขาซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ บริเวณนี้จะมีทหารจากประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ดูแลตลอดเวลา บริเวณเนินเสาธงสามารถมองเห็นวิวฝั่งประเทศพม่าที่เต็มไปด้วยป่าเขาที่สมบูรณ์สวยงามได้และสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน

 

4.เขาช้างเผือก

เขาช้างเผือก เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ โดยมีความสูงถึง 1,249 จากระดับน้ำทะเล การเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาช้างเผือกนั้น ต้องเดินเท้าลัดเลาะไปตามสันเขาถึง 3-4 ยอดเขาในระยะทางประมาณ 8-9 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดตั้งเต๊นท์ที่เรียกว่า "กิ่วลม" ส่วนมากแล้วนักท่องเที่ยวจะนิยมนอนพักที่กิ่วลมก่อน 1 คืน และจากนั้นค่อยปีนขึ้นสู่ยอดเขาช้างเผือก อุทยานฯจำกัดนักท่องเที่ยวที่จะขึ้นไปบนยอดเขาช้างเผือกได้วันละ 60 คนเท่านั้น ค่าลูกหาบคนละ 900 บาท ค่าบริการเจ้าหน้าที่อุทยานที่เป็นผู้นำทางคนละ 900 บาท อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า และเปิดใหห้เที่ยวได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธุ์เท่านั้น

 

5.น้ำตกจ๊อกกระดิ่น

น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ในอดีตเคยเป็นเหมืองแร่และที่ทำการเหมืองแร่ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ 2502 เรื่อยมา เหมืองแร่แห่งนี้ เป็นเหมืองแร่ดีบุกและวูลแฟลมเป็นหลัก ต่อมาได้หยุดกิจการไปเมื่อปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากราคาแร่ตกต่ำ สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นเขาหัวโล้น มีกองหินจากการคัดแยกแร่และร่องรอยการพังทลายของภูเขาบางส่วน ร่องรอยที่ยังคงเหลืออยู่ คือ มีไม้ผลที่ผู้ทำเหมืองเดิมปลูกไว้ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 126,750